วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สวนสวรรค์


สวนสวรรค์


        การเดินทาง  ใช้เส้นทางเดียวกับสวนหินผางาม แต่สวนสวรรค์จะถึงก่อน ให้สังเกตวัดสวนห้อมทางซ้ายมือ ทางเข้าสวนสวรรค์อยู่ตรงกันข้าม ให้เลี้ยวเข้าไปอีกประมาณ 12 กม.

        เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ทาง อบต. ปวนพุได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมธรรมชาติถ้ำพระโพธิสัตว์ แต่ที่สวนสวรรค์จะมีบรรยากาศที่แตกต่างออกไป เพราะเป็นการเดินผ่านไปบนสันเขาหินปูน โดยจากบ้านสวนห้อม ต้องนั่งรถอีแต๊กระยะทางประมาณ 1 กม. มาที่เชิงเขา แล้วจึงเริ่มต้นเดินไต่ขึ้นไปบนเขาหินปูนจนกระทั่งถึงยอดเขา หลังจากนั้นต้องเดินไปบนสะพานไม้ที่จัดขึ้นเพื่อให้เดินได้สะดวกผ่านซอกรอยแตกของยอดเขาหินปูน เป็นระยะทางประมาณ 500 ม. ระหว่างทางจะได้พบกับพืชทนแล้งบนเขาหินปูนนานาชนิดท่ามกลางโขดหินตะปุ่มตะป่ำและท้องฟ้ากว้าง ให้ความรู้สึกราวกับที่นี่เป็นสวนสวรรค์


      จากยอดเขาเส้นทางจะไต่ลงมาสู่เชิงเขาอีกครั้ง เพื่อเที่ยวชมถ้ำที่พบอยู่มากมายตามเทือกเขาแถบนี้ บางแห่งตื้น บางแห่งลึก บางแห่งสามารถเดินทะลุถึงกันได้ หลายแห่งมีหินงอกหินย้อยสวยงาม โดยเฉพาะถ้ำตุ๊กตาที่ถือว่าโดดเด่นที่สุด หลังจากเที่ยวชมถ้ำแล้ว จะมีรถอีแต๊กมารับกลับ โดยไม่ต้องเดินย้อนไปทางเดิม


Cr : ภาพจาก www.puanpu.go.th

Cr : ข้อมูลจาก www.thailands360.com

                           

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สวนหินผางาม หรือ “คุนหมิงเมืองเลย”


สวนหินผางาม หรือ คุนหมิงเมืองเลย

        
          เป็นภูเขาหินปูนขนาดใหญ่น้อยกระจายทั่วบริเวณ บนเขาเต็มไปด้วยโขดหินและเพิงผารูปทรงแปลกตา จินตนาการได้หลายรูปแบบ และมีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะต้นจันทน์ผา ภูเขาบางลูกสามารถเดินทะลุผ่านไปได้ บางลูกก็เป็นซอกหินสลับซับซ้อน ทาง อบต.ปวนพุได้จัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติเที่ยวชมสวนหินฯ เป็นวงรอบระยะทางประมาณ 1 กม. ใช้เวลาเดินราว 1 ชม. โดยมีเจ้าหน้าที่คอยนำทางและให้ความรู้ตลอดเส้นทาง


         จากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ทางเดินอ้อมภูเขาไปทางซ้ายมือประมาณ 200 ม. ก็ถึงทางเข้าสู่เขาวงกต ระหว่างทางจะพบกับผาและโขดหินรูปทรงต่างๆ จินตนาการได้คล้ายกับหน้าคน ช้างร้อนไห้ ถ้ำส่องดาว เต่า สุนัขหมอบ และดวงตา เมื่อผ่านทางเข้ามาประมาณ 300 ม. ก็จะถึงทางขึ้นเขาวงกต เป็นทางเดินขึ้นสู่ภูเขาที่เหมือนกำแพงหินตระหง่าน ตามโขดหินเต็มไปด้วยพืชทนแล้ง เช่น จันทน์ผา ปรง ตะบองเพชร และปอทองที่มีลำต้นสีเหลืองสูงชะลูดเป็นพันธุ์ไม้เด่นของภูเขาหินปูนแถบนี้


          เมื่อถึงกำแพงหินแล้ว ต้องเดินไต่ขึ้นเขาหินปูนมาตามบันไดชันแต่ไม่สูงนัก จนถึงจุดที่พบฟอสซิลสัตว์ทะเลยุคดึกดำบรรพ์บนโขดหินขนาดใหญ่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีอายุราว 255 บ้านปี จากนั้นทางเดินจะลัดเลาะต่อไปตามซอกหินที่มีสะพานให้เดินมุดลอดไป ตามทางเต็มไปด้วยเถาวัลย์ระเกะระกะ พบช่องหินใหญ่เป็นโพรงถ้ำ และมีหินคล้ายพญานาค บางช่วงต้องเดินก้มลอดซอกแคบ เรียกว่าช่องคารวะ แล้วเดินลงสะพานผ่านไปตามป่ารกที่มีไม้เลื้อยคลุมโขดหินเต็มไปหมด


         เมื่อลงจากสะพานจะเดินเข้าไปในหุบเขาที่ล้อมรอบด้วยเพิงผาหินปุน จนถึงแดนมหัศจรรย์ ที่เป็นเพิงผาหินขนานกันสองด้าน จากนั้นจะเข้าสู่ช่องแคบๆ เรียกว่าช่องสรีระ ซึ่งจะนำเข้าสู่ผาวงกตที่เป็นทางคดเคี้ยววกวนไปตามซอกผาราวกับเขาวงกตจริงๆ ระหว่างทางมีซอกโพรงหินรูปทรงประหลาดมากมาย บางช่วงมีรากใบพลูช้างห้อยลงมาเป็นสายคล้ายเถาวัลย์ทาร์ซานหินบางก้อนมีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ หัวใจ และมงกุฎ กระทั่งมาออกสู่จุดชมทิวทัศน์ที่เรียกว่าหอดูดาว เป็นจุดที่มองเห็นเทือกเขาหินปูนเป็นกำแพงล้อรอบผืนป่าเบื้องล่างได้รอบทิศ บางทีก็อาจได้เห็นฝูงลิงวิ่งไต่ไปตามโขดหิน บริเวณนี้ยังมีต้นปรงยักษ์หรือปรงเขาอายุหลายร้อยปี ลำต้นสูงหลายเมตรยืนต้นอยู่ นับเป็นต้นไม้ดึกดำบรรพ์อีกชนิดหนึ่ง        

               จากหอดูดาวทางจะตัดลงเขาไปยังพื้นที่ราบ เพื่อขึ้นรถอีแต๊กกลับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ด้านขวามือจะมองเห็นผาบ่องซึ่งเป็นช่องเขาทะลุไปออกอีกด้านหนึ่ง ดูน่าอัศจรรย์



Cr : TourOnThai.com



วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ของดีตำบลปวนพุ


วีดีโอภาพถ่ายบรรยากาศต่างๆภายในตำบลปวนพุ



ถ้ำโพธิสัตว์หรือกุ้ยหลินเมืองเลย


ถ้ำโพธิสัตว์หรือกุ้ยหลินเมืองเลย


             ถ้ำโพธิ์สัตว์หรือกุ้ยหลินเมืองเลย  ภายในจะมีถ้ำใหญ่น้อยมากมาย รอบบริเวณก็จะเป็บหุบเขาป่าดิบชื้น ป่าต้นแล้ง ป่าเบญจพรรณ ที่คงความอุดมสมบูรณ์ตามแบบธรรมชาติ มีพืชพรรณนานาชนิดที่น่าสนใจและหายากกว่า 1,000 ชนิด นอกจจากนั้นยังมีมัคคุเทศน์ท้องถิ่นที่จะคอยให้ความรู้และบริการนำเที่ยว ในอัตราคณะละ 100 บาท ไม่เกิน 10 คน เพื่อนำเงินที่ได้ไปพัฒนา ดูแล ปรับปรุง ซ่อมแซม ให้สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้สวยงามและน่าเที่ยวชมมากยิ่งขึ้น







วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิสัยทัศน์ และ จุดมุ่งหมาย

วิสัยทัศน์( Vision ) 

“ เมืองในฝันของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน ”

เป้าหมายของจังหวัดเลย 4 ประเด็น ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูระบบนิเวศน์
2. ยุทธศาสตร์การการพัฒนาเกษตรกร
3. ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว
4. ยุทธศาสตร์การค้าชายแดน

วิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น( Vision ) 

“ การทํองเที่ยวเชิงนิเวศ การเกษตรหลากหลาย การกระจายรายได้ด้วยภูมิปัญญา พัฒนาคุณภาพชีวิต ”



จุดมุ่งหมาย

            การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จะมุ่งหมายพัฒนาสู่ “ สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน ( Green Society )” โดยให้ความสําคัญกับการสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นในทุกมิติทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งนี้เพื่อนําไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน


ผลการวิเคราะห์การพัฒนาด้านต่างๆ


ผลการวิเคราะห์การพัฒนาด้านต่างๆ

            ผลจากวิเคราะห์ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชนมีสภาพภูมิประเทศที่สวยงามอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ รวมทั้งมีชุมชนเหมาะแกการศึกษาประวัติศาสตร์ผู้นําชาวบ้าน ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และเผยแพร่ประชาสมพันธ์ให้ประชาชนผู้สนใจเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ โดยจัดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้



             ผลจากการวิเคราะห์ด้านการเกษตรกรรมและการปศุสัตว์ การปลูกพืชเศรษฐกิจยังไม่ได้รับความสนใจ ต้นทุนสูงภาระหนี้สินเดิมยังผูกพันทําให้เกิดการผลิตพืชซ้ำแบบเดิม เช่น การปลูกอ้อย มันสําปะหลัง และการปลูกขิงทำไร่เลื่อนลอย การเผาผลาญธรรมชาติทําลายระบบนเวศวิทยา สําหรับการปศุสัตว์มีศักยภาพสูงเนื่องจากมีพื้นที่รองรับและขยายผลได้ สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือการรวมการผลิตและการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร การป้องกันโรคระบาดรวมถึงการใช้สอยพื้นที่ในวงจํากัด





                ผลจากการวิเคราะห์ด้านการพัฒนาการกระจายรายได้ ในพื้นที่ได้มีที่ท่องเที่ยวเกิดขึ้นและโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนได้รับประโยชน์เฉพาะกลุ่ม โดยการเข้าร่วมจําหน่ายสินค้าและการบริการ วัตถุดิบได้จากการเก็บหาในพื้นที่มาจําหน่ายซึ่งเป็นการได้เปล่า หรือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย หวังให้มีรายได้ในระยะสั้น ขาดการฝึกอาชีพและสร้างจิตสํานึกที่ดี


               

                 ผลจากการวิเคราะห์ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตสังคมในชุมชน  ปัญหาสําคัญคือ อบายมุขได้แก่ การพนันมีได้ตลอดทั้งปี ทําให้เกิดหนี้สิน ทําให้สังคมเสื่อมลงอย่างชัดเจน ปัญหาการว่างงานและการไม่ได้รับการศึกษาของเด็ก เด็กไม่ได้รับการศึกษาต่อ การทะเลาะวิวาท ยาเสพติดยังปรากฎในชุมชน อีกส่วนหนึ่งความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารทําให้เกิดความต้องการบริโภค ซึ่งเป็นวัตถุความนิยมอันเป็นผลกระทบกับการพัฒนาจิตใจ โดยทุกชุมชนได้แสดงฐานะความเป็นอยู่ทางด้านสิ่งของสนองความสุข มีดนตรี มีละคร ดูจากสิ่งฟุ่มเฟือยประเภทนี้ทําให้รายได้ไม่สนองความต้องการเกิดปัญหาหนี้สิน หากเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านแนวคิด ทัศนคติส่งเสริมการประกอบอาชีพที่มีหลากหลายปัญหาการว่างงานจะลดลง ทั้งนี้คนในท้องถิ่นต้องพร้อมและยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ ขยันและอดทน จึงจะสามารถทําให้แผนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ นี้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี

การวิเคราะห์การพัฒนาทองถิ่น (Swot Analysis)


การวิเคราะห์การพัฒนาทองถิ่น (Swot Analysis)

            แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล เกิดขึ้นจากปัญหาความต้องการของท้องถิ่น ที่มีการวิเคราะห์เหตุผลของทุกภาคส่วนในตําบล ผ่านกระบวนการจัดทําแผนที่มีการรวบรวม   ข้อมูลจนถึงการกลั่นกรองจากประชาคม ผลงานที่เกิดขึ้นจะสนองหรือแก้ไขปัญหาใดได้บ้าง จะต้องมีการติดตามประเมินผล ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับหลักวิถีความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น อํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่ที่ต่องทําและอาจทําได้ การวิเคราะห์กลั่นกรองได้ผ่านประชาคมมาแล้ว สรุปได้ดังนี้

จุดแข็ง (Strength)

1. สภาพภูมิประเทศสวยงาม อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติเหมาะสําหรับการท่องเที่ยว
 2. ประชาชนมีวิถีชีวิตคล้ายคลึงกัน ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบอย่างเดียวกันและเป็นสังคมชนบททั้งตําบล
3. ลักษณะหมู่บ้านมีประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การศึกษาเป็นแหล่งการเรียนความรู้ของชุมชน
4. มีการกระจายรายได้ให้กับประชาชนในลักษณะกลุ่มอาชีพต่างๆ

จุดอ่อน (Weaknesses)

1. คนในท้องถิ่นมีปํญหาหนี้สินอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพหรือการดํารงชีวิตประจําวันในอัตราสูง
2. ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลายโดยคนในท้องถิ่นและใกล้เคียง
3. คนในท้องถิ่นติดอบายมุขการพนัน การดื่มสุรา ยาเสพติดและโรคติดต่อทําให้สังคมอ่อนแอ
4. ประชาชนบางส่วนมีการอพยพแรงงานไปค้าขายต่างจังหวดเป็นการชั่วคราว (ขายล็อตเตอรี่)

โอกาส (Opportunities)

1. นโยบายรัฐบาลและจังหวัดเลยส่งเสริมการท่องเที่ยว
2. นโยบายรัฐบาลต้องการให้อนุรักษ์พื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. นโยบายรัฐบาลส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ และการเกษตรแบบผสมผสาน

อุปสรรค (Threats)

1. การฝึกอาชีพเกษตรและการปศุสัตว์ขาดความต่อเนื่อง การเก็บหาของป่ามาจําหน่ายทดแทนการผลิตเอง
2. การมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว มีบทบาทเฉพาะกลุ่มรอบบริเวณสถานที่ท่องเที่ยว
3. ภาคเกษตรกรรมมีปัญหาหนี้สิน ขาดทุน คุณภาพต่ำ
4. ภาคการเกษตรผลิตแต่เฉพาะพืชที่มีราคาต่ำ และใช้ต้นทนสูงใช้พื้นที่เพาะปลูกมาก
5. ภัยธรรมชาติเนื่องจากพื้นที่ของตำบลมีลักษณะแหล่งต้นน้ำ ฤดูฝนมีน้ำท่วม ฤดูแล้งมีภัยแล้งขาดน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค




ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตําบลปวนพุ

1. การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การพัฒนาคน สังคม คุณภาพชีวิต ความเข้มแข็งให้กับชุมชน
3. การพัฒนาการทางการเมือง การบริหารจัดการที่ดีและการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน
4. การพัฒนาด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวและการกีฬา
5. การพัฒนาการศึกษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. การพัฒนาการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย และการจดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. การพัฒนาเศรษฐกิจ อาชีพและรายได้





ด้านสภาพทั่วไป

ด้านสภาพทั่วไป

ที่ตั้ง
           ตำบลปวนพุ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอหนองหิน มีถนน รพช.สายหนองหิน – ผาหวายผ่าน ระยะทางจากตำบลถึงที่ตั้ง สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ประมาณ 10 กิโลเมตร



อาณาเขต
          ทิศเหนือ  ติดต่อกับ  ตำบลหนองหิน อำเภอหนองหิน, ตำบลห้วยสีเสียด อำเภอภูหลวง
          ทิศใต้  ติดต่อกับ  ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง, ตำบลวังกวาง อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
          ทิศตะวันออก ติดต่อกับ  ตำบลหนองหิน อำเภอหนองหิน
          ทิศตะวันตก ติดต่อกับ  ตำบลห้วยสีเสียด ตำบลแก่งศรีภูมิ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย

ภูมิประเทศ                                                                                                            
           ลักษณะภูมิประเทศตำบลปวนพุ มีสภาพพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำทรัพยากรธรรมชาติ  ป่าไม้ ต้นน้ำลำธารและภูเขา ปรากฏอยู่ด้านทิศใต้ของตำบลแนวเขาล้อมรอบพื้นที่ เกิดเป็นลำน้ำไหลลงสู่พื้นที่ด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่ม  ทำการเกษตรได้ดีตลอดทั้งปี เช่น ปลูกข้าว ถั่วเหลืองหรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ การตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยจะอยู่ใกล้แหล่งน้ำ การคมนาคมสะดวก ยังมีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตามแนวเชิงเขาทำการเลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ผลและพืชสวน ซึ่งในส่วนพื้นที่ป่าเขาหินปูนก็จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศ เนื่องจากมีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม มีทั้งน้ำตก ภูเขา ป่าเบญจพรรณ   ซึ่งก็เหมาะสำหรับการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องของธรรมชาติเป้นอย่างยิ่ง

           



 เนื้อที่
             เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ             200    ตารางกิโลเมตร                                                             
                    หรือประมาณ                98,265     ไร่             
             เป็นพื้นที่ทำการเกษตร             34,633    ไร่