การวิเคราะห์การพัฒนาทองถิ่น (Swot
Analysis)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล
เกิดขึ้นจากปัญหาความต้องการของท้องถิ่น
ที่มีการวิเคราะห์เหตุผลของทุกภาคส่วนในตําบล ผ่านกระบวนการจัดทําแผนที่มีการรวบรวม ข้อมูลจนถึงการกลั่นกรองจากประชาคม
ผลงานที่เกิดขึ้นจะสนองหรือแก้ไขปัญหาใดได้บ้าง จะต้องมีการติดตามประเมินผล ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับหลักวิถีความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น
อํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่ที่ต่องทําและอาจทําได้ การวิเคราะห์กลั่นกรองได้ผ่านประชาคมมาแล้ว
สรุปได้ดังนี้
จุดแข็ง (Strength)
1. สภาพภูมิประเทศสวยงาม อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติเหมาะสําหรับการท่องเที่ยว
2. ประชาชนมีวิถีชีวิตคล้ายคลึงกัน
ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบอย่างเดียวกันและเป็นสังคมชนบททั้งตําบล
3. ลักษณะหมู่บ้านมีประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การศึกษาเป็นแหล่งการเรียนความรู้ของชุมชน
4.
มีการกระจายรายได้ให้กับประชาชนในลักษณะกลุ่มอาชีพต่างๆ
จุดอ่อน (Weaknesses)
1. คนในท้องถิ่นมีปํญหาหนี้สินอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพหรือการดํารงชีวิตประจําวันในอัตราสูง
2.
ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลายโดยคนในท้องถิ่นและใกล้เคียง
3. คนในท้องถิ่นติดอบายมุขการพนัน
การดื่มสุรา ยาเสพติดและโรคติดต่อทําให้สังคมอ่อนแอ
4. ประชาชนบางส่วนมีการอพยพแรงงานไปค้าขายต่างจังหวดเป็นการชั่วคราว (ขายล็อตเตอรี่)
โอกาส (Opportunities)
1.
นโยบายรัฐบาลและจังหวัดเลยส่งเสริมการท่องเที่ยว
2.
นโยบายรัฐบาลต้องการให้อนุรักษ์พื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. นโยบายรัฐบาลส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ
และการเกษตรแบบผสมผสาน
อุปสรรค (Threats)
1. การฝึกอาชีพเกษตรและการปศุสัตว์ขาดความต่อเนื่อง
การเก็บหาของป่ามาจําหน่ายทดแทนการผลิตเอง
2. การมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
มีบทบาทเฉพาะกลุ่มรอบบริเวณสถานที่ท่องเที่ยว
3. ภาคเกษตรกรรมมีปัญหาหนี้สิน ขาดทุน
คุณภาพต่ำ
4. ภาคการเกษตรผลิตแต่เฉพาะพืชที่มีราคาต่ำ
และใช้ต้นทนสูงใช้พื้นที่เพาะปลูกมาก
5. ภัยธรรมชาติเนื่องจากพื้นที่ของตำบลมีลักษณะแหล่งต้นน้ำ
ฤดูฝนมีน้ำท่วม ฤดูแล้งมีภัยแล้งขาดน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น